หน้าแรก

 
ทีมงานแพทย์เฉพาะทาง พร้อมให้ความดูแล สุขภาพเหงือกและฟัน
 

 
ปัจจุบันมีรายงานข่าวการพบผู้ป่วยฟันผุเรื้อรัง ลุกลามจนติดเชื้อขั้นรุนแรง เกิดหนองบริเวณใบหน้า 
ใต้คาง ไม่ได้รีบทำการรักษา ส่งผลกระทบไปยังระบบทางเดินหายใจ

 

ถ้าร่วมกับการมีโรคประจำตัวเช่นเบาหวานเรื้อรัง หรือแม้แต่โรคปริทันต์อักเสบทั้งระยะกลาง 
ไปจนถึงระยะรุนแรงก็ทำให้ไข้ขึ้นสูง ติดเชื้อในกระแสเลือด เนื้อเยื่อออคซิเจนทางเดินหายใจอุดกั้น 
จะเกิดการหายใจเหนื่อยหอบ มีไข้ ชีพจรเต้นเร็ว จนต้องนอน Admit ใน รพ.ไปหลายวัน ถึงเดือน หมอก็เคยเจอมาแล้ว

 

จึงจำเป็นที่เราจะต้องตรวจและรักษา สุขภาพช่องปากและฟัน เป็นประจำทุกวัน และพบทันตแพทย์ทุกๆ 6 เดือน 
เพื่อทำการรักษาตั้งแต่เริ่มต้นในระยะแรกๆ ทั้งๆที่ยังไม่มีอาการ และสามารถรักษา ให้หายก่อนที่โรคจะลุกลามมากขึ้น

 

ตัวอย่างเคสของหมอเองที่จะเล่าให้ฟังนี้ อยากให้คิดถึงความสำคัญของการรีบรักษาสุขภาพช่องปากก่อน เพราะเราไม่มีทางรู้เลยว่า 
อนาคตข้างหน้าของเราจะมีโรคใดๆแทรกขึ้นมาหรือเปล่า และถ้ามีเราสามารถรักษาได้เลยหรือไม่

 

เคสที่ 1 ผู้ป่วยชายไทย อายุประมาณ 65 ปี
มาขอดูแลสุขภาพช่องปาก เป็นโรคเหงือกอักเสบ ฟันหักเหลือแต่ตอและมีหนองปลายราก 2 ซี่ ได้รักษาด้วยการถอนฟัน อุดฟัน
 เตรียมตัวจะใส่รากเทียมอีก 2 ซี่ แต่.....โชคร้าย เป็นเส้นเลือดในสมองตีบเสียก่อน ซึ่งสามารถรักษาได้ทันท่วงที และไม่ต้องกังวลปัญหาการติดเชื้อจากช่องปากแต่อย่างใด

 

เคสที่ 2 ผู้ป่วยชายไทย อายุประมาณ 73 ปี
มาขอทำการรักษา เฉพาะเมื่อมีอาการปวด ซึ่งจากการตรวจในช่องปาก
ฟันสึกถึงโพรงประสาทฟัน มากกว่า 5 ซี่ มีหนองปลายราก ได้ทำการรักษารากฟันบางซี่ที่มีอาการ และถอนฟันไปบางซี่
 แต่ยังไม่เสร็จเรียบร้อย และปฏิเสธการนัดที่จะกำจัดหนองอีก 1 ซี่ เนื่องจากไม่มีอาการปวดใดๆ

 

แต่โชคร้าย...ต้องไปสวนหัวใจเพื่อรักษาเส้นเลือดหัวใจตีบ ซึ่งก็ได้รักษาไปแล้ว
แต่ปัจจุบันเริ่มมีอาการปวดฟันกลับมา คราวนี้หมอฟันก็เริ่มรักษายาก
เพราะต้องรอให้คุณหมอหัวใจยินยอมหยุดยาละลายลิ่มเลือด และจ่ายยาฆ่าเชื้อก่อนจะทำฟัน ซึ่งงานนี้คงต้องส่งต่อไปดูแลที่ รพ.จะเหมาะสมกว่า

 

อ่านมาถึงตรงนี้...
พอจะเข้าใจมากขึ้นแล้วใช่มั้ยคะ
ว่าเราควรเลือกรักษาสุขภาพช่องปาก แบบเคสที่ 1 หรือเคสที่ 2

 

ด้วยรัก
หมอหยง ทพญ.สุพรรัตน์

 

 

ทำฟัน ที่นี่ ปลอดภัยจาก COVID-19 ไหม?

 

สวัสดีค่ะ วันนี้ขออนุญาตเล่ายาวนิดนึงนะคะ จะเล่าถึงวิธีการควบคุมการติดเชื้อและแพร่กระจายเชื้อ

 เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพในทุกหัตถการของการรักษาทางทันตกรรม ทันตบุคลากรอย่างคร่าวๆนะคะ

 ว่าทางคลินิกมีมาตรฐานการทำให้ปลอดเชื้อ เพื่อดูแลทุกท่านอย่างไร นะคะ

 


1. การล้างมือ
ควรล้างมือทุกครั้งก่อนและหลังการให้การรักษาผู้ป่วย หรือเมื่อมือสกปรก หรือสัมผัสสิ่งปนเปื้อน โดยต้องล้างให้
สะอาดครบทั้ง 6 ขั้นตอนตามมาตรฐานใหม่ขององค์การอนามัยโลก (WHO)

 

2. การสวมเครื่องป้องกันตนเองส่วนบุคคล (Personal Protective Equipment- PPE)

 

3.การให้ผู้มารับบริการอมน้ายาบ้วนปากนาน 30-60 วินาทีก่อนเริ่มการรักษาทุกครั้งเพื่อลดปริมาณเชื้อ

ที่ออกมากับละอองฝอยในขณะให้การรักษาทางทันตกรรมได้มากถึง 70-95 %

 

4. การใช้เครื่องดูดแรงดันสูง (High Power Suction) ในการกรอฟันหรือการรักษาที่ทำให้เกิดละอองฝอย (Aerosol)

 

5. การเตรียมเครื่องมือเพื่อใช้ในการรักษาผู้ป่วย
เครื่องมือที่นำเข้าสู่ช่องปาก ทำให้ปลอดเชื้อหรือฆ่าเชื้อด้วยนำ้ยาฆ่าเชื้อที่มีประสิทธิภาพสูง

ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา แม้กระทั่ง TB เครื่องมือที่ใช้ในการรักษา ทางศัลยกรรม ผ่านการ

ทำให้ปลอดเชื้อด้วย Autoclave Ultraclave เลือกใช้ Brand จากอเมริกาอบฆ่าเชื้อได้ตั้งแต่อุณหภูมิ

121-132 C ใช้เวลา 3-90 นาทีการเช็ดทำความสะอาด แล้วตามด้วยการฆ่าเชื้อคลินิกเราเลือกใช้ Clinicare

 

6.จัดระบบระบายอากาศให้ห้องทำฟันโดยการเลือกเครื่องฟอกอากาศที่มี Hepa ช่วยในการกรองฝุ่น

ละเอียดที่ 99.95% UV Germicidal Lamp ช่วยในการทำลาย ของ DNA Bacteria virus และเชื้อรา

Negative ion ช่วยควบคุมเชื้อโรคในอากาศ และช่วยให้รู้สึกสดชื่น จะมีการไหลเวียนของอากาศ ให้บริสุทธิ์ได้ภายใน 2 นาที

7. การดูแลและจัดการกับขยะ
อุปกรณ์เครื่องป้องกันตนเองที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง รวมถึงวัสดุคลุมพื้นผิว และวัสดุอื่น ๆ ที่ปนเปื้อนสารคัดหลั่งหรือละอองฝอยถือเป็นขยะติดเชื้อทั้งหมด

 

 

 

ฟอกสีฟัน ขาวสวย

 

เคสจัดฟันสวย ขึ้น ยิ้ม มั่นใจ

รีเทนเนอร์ ลายสวย ๆจ้า

ขอบคุณที่ให้ความไว้วางใจเราค่ะ